Last updated: 5 มิ.ย. 2567 | 656 จำนวนผู้เข้าชม |
สพป.ราชบุรี เขต 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่น ตอบโจทย์ชีวิตเด็กและเยาวชน
เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ที่ห้องประชุมปักษาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ดร.บรรเจิด อุ่นมณีรัตน์ ผู้อำนวยการอสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 (สพป.ราชบุรี เขต 1)ได้จัดเวทีการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นกาารจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่น และตอบโจทย์ชีวิตเด็กและเยาวชนโรงเรียนในสังกัด จำนวนทั้งหมด169 โรงเรียน โดยมีผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัด สพป.ราชบุรี เขต 1 เข้าร่วม ได้แก่ อำเภอเมืองราชบุรี 47 โรงเรียน อำเภอวัดเพลง 5 โรงเรียน อำเภอปากท่อ 43 โรงเรียน อำเภอจอมบึง 37 โรงเรียน อำเภอบ้านคา 17 โรงเรียน และอำเภอสวนผึ้ง 20 โรงเรียน
ดร.บรรเจิด กล่าวว่า ที่ผ่านมาจากปัญหาสถานการณ์โควิด และปัญหาอื่น ๆ ทำให้เด็กนักเรียนไม่มาโรงเรียน และพบสาเหตุต่าง ๆ จนทำให้เด็กบางส่วนหลุดออกจากระบบการศึกษา การจัดเวทีในครั้งนี้ เพื่อสื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจของการศึกษาที่ยืดหยุ่น ไร้รอยต่อให้กับโรงเรียนในสังกัดทุกโรงเรียน เพื่อสามารถนำไปหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนที่มีสภาพปัญหา และบริบทที่แตกต่างกันเป็นรายบุคคล การจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นคือ การศึกษาที่มีรูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา โครงสร้างหลักสูตร เนื้อหาวิธีการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม และมีอิสระสามารถเลือกเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ความพร้อมศักยภาพ และโอกาสได้ทุกเวลาทุกสถานที่ ซึ่งจะนำไปสู่การศึกษาที่ไร้รอยต่อที่มีความเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบ และการศึกษาและตามอัธยาศัย
การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ด้วยการจัดการการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นและ ผสมผสานทั้งการศึกษา ในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย อย่างไร้รอยต่อเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม สร้างห้องเรียนสร้างโอกาสสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หมายถึงห้องเรียนที่สถานศึกษามุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นบูรณาการ ไร้รอยต่อและสอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและสภาพปัญหาของผู้เรียนแต่ละบุคคลตามศักยภาพ ซึ่งนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ คือกลุ่มนักเรียนที่เสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาและโรงเรียนได้มีการติดตามให้กลับมาเรียน หรือนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในการออกกลางคันสูง ตามสภาพปัญหาและสาเหตุต่าง ๆ ที่มีความประสงค์จะเข้าเรียนในห้องเรียนสร้างโอกาส รวมถึงเด็กกลุ่มตกหล่น เพื่อให้เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้มีโอกาสทางการศึกษาสูงขึ้นให้สามารถกลับมาได้รับการศึกษาจนสามารถจบการศึกษาขั้นพื้นฐานได้.
ขอบคุณข้อมูล/ภาพ...รังสี ลิมปิโชติกุล-ราชบุรี.